พื้นฐานเรื่อง เครื่องยนต์ ที่ควรรู้
พื้นฐานเรื่อง เครื่องยนต์ ที่ควรรู้ เพราะปัจจุบันมีผู้คนไม่น้อยที่มีรถ แต่ยังไม่เข้าใจในเรื่องของรถอย่างถ่องแท้ เช่น คำว่า ซีซี. ของเครื่องยนต์ในรถยนต์นั้น ซึ่งเป็นหน่วยในการวัดปริมาตรความจุของกระบอกลูกสูบของเครื่องยนต์ ซีซี.= คิวบิกเซนติเมตร ในยุคที่ผู้ผลิตยังไม่มีความแตกต่างด้านเทคโนโลยีบรรจุไว้ในเครื่องยนต์มากนัก การใช้ซีซีเป็นพื้นฐานในการเดาความแรงแบบคร่าวๆ ยังพอบอกได้ว่าเครื่องยนต์ซีซีน้อยจะมีกำลังต่ำกว่า เครื่องยนต์ที่มีซีซีมาก แต่ในยุคปัจจุบันเป็นคนละเรื่องกัน
การเดากำลังของเครื่องยนต์จากซีซี ไม่ใช่เรื่องที่แม่นยำ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเทคโนโลยี เช่น เครื่องยนต์ 2,000 ซีซี แคมชาฟท์เดี่ยว 8 วาล์ว คาร์บูเรเตอร์ เป็นไปได้ที่จะมีกำลังต่ำกว่าเครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ที่พกเทคโนโลยีมาเพียบ ทวินแคม 16 วาล์ว หัวฉีด เทอร์โบ
1.ความทนทาน
ตามพื้นฐานของเครื่องยนต์ยุคเก่าเมื่อกว่า 10-20 ปีที่แล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ค่อยทนทาน และน้ำมันเครื่องยังมีคุณภาพไม่สูงมาก จึงมีมาตรฐานกลาย ๆ ว่า เครื่องยนต์จะหลวมเมื่อผ่านการใช้งานไป 100,000-150,000 กิโลเมตรมาตรฐานนี้สมควรถูกลบล้างไป เนื่องจากเครื่องยนต์ยุคนี้มีความทนทานขึ้นมาก หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยมักเกิน 250,000 กิโลเมตร เครื่องยนต์บางรุ่นทนทานเกิน 400,000 กิโลเมตร
2.เครื่องยนต์หลวม
เรา สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติได้คือ 1. กินน้ำมันเครื่องมากไหม ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร ไม่ควรพร่องเกินครึ่งลิตร 2. มีควันสีขาวออกทางท่อไอเสียไหม 3. ท่อไอเสียชื้นฉ่ำด้วยคราบน้ำมันเครื่องไหม แต่อย่าเพิ่งสรุป เพราะอาการหลักของเครื่องยนต์หลวม คือ แหวน-กระบอกสูบ-ลูกสูบหลวม ทำให้แรงตก และน้ำมันเครื่องเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบเข้าสู่ห้องเผาไหม้ และเผาไหม้ออกมาเป็นควันสีขาว ทำให้กินน้ำมันเครื่อง แต่การที่น้ำมัน เครื่องสามารถเล็ดลอดเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อาจมาจากอีกทาง คือ ยางตีนวาล์ว (หรือหมวกวาล์ว) หมดสภาพทำให้น้ำมันเครื่องไหลผ่านก้านวาล์วไอดีลงมาใ นห้องเผาไหม้ได้ กรณีนี้ต้องวัดกำลังอัดในกระบอกสูบด้วยเครื่องมือ เพราะการซ่อมแซมจะเกี่ยวกับส่วนของฝาสูบเท่านั้น แหวนลูกสูบยังไม่หลวม
3.น้ำมันเครื่อง
น้ำมันเครื่อง ไม่ได้ทำหน้าที่แค่การหล่อลื่นแต่ยังช่วยระบายความร้อน ป้องกันสนิม และทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์อีกด้วย การใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำ หรือละเลยต่อการเปลี่ยนถ่าย อาจไม่ส่งผลชัดเจนในทันที แต่แน่นอนว่าเครื่องยนต์จะหลวมเร็วขึ้น และกำลังอาจลดลงบ้าง
4.เครื่องยนต์หัวฉีด
เมื่อ มีปัญหาเกิดขึ้น อย่ารีบสรุปลงไปที่กล่องอีซียูเสีย เพราะไม่ได้เสียกันง่าย ๆ ควรตรวจสอบเป็นจุด ๆ ไป พื้นฐานปัญหาก็มีเหมือนกับเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ คือ หัวเทียนบอด ไส้กรองตัน วาล์วรั่ว สายหัวเทียนขาดใน ปั๊มเสีย ฯลฯ
5.โมดิฟาย
เพิ่มจาก 2 ทางเลือกหลัก คือ 1. เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ เหมาะกับรถยนต์ญี่ปุ่น เพราะมีเครื่องยนต์และอะไหล่เก่าจากญี่ปุ่นจำนวนมาก
2. ปรับแต่งเครื่องยนต์เดิม เหมาะสำหรับรถยนต์ยุโรป ที่เครื่องยนต์เก่าราคาแพง
หาก เลือกแต่งแบบเบาะ ๆ กับเครื่องยนต์เดิม ไม่หนักหน่วงถึงขนาดติดตั้งเทอร์โบ ก็ทำได้แค่ภายนอกเครื่องยนต์ เช่น เปลี่ยนไส้กรองอากาศ หัวเทียน สายหัวเทียน เฮดเดอร์-ท่อไอเสีย รวมกันแล้วไม่น่าได้กำลังเพิ่มขึ้นเกิน 5-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
6.ไส้กรองอากาศ
ถ้าหมดอายุและปล่อยให้ฝุ่นละอองรั่วเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ นอกจากแหวน-ลูกสูบ-กระบอกสูบจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ ยังมีผลทำให้น้ำมันเครื่องสกปรกและหมดอายุเร็วขึ้น เพราะฝุ่นละอองเล็ดลอดผ่านแหวนลูกสูบลงไปผสมกับน้ำมันเครื่องด้านล่าง
7.สายพานไทม์มิ่ง
สายพานไทม์มิ่งหรือสายพานราวลิ้น เป็นสายพานขับเคลื่อนแคมชาฟท์ของเครื่องยนต์ที่มีแคม ชาฟท์เหนือฝาสูบเครื่องยนต์ทุกรุ่นไม่ได้ใช้ระบบนี้เสมอไป อาจใช้โซ่โลหะแทน แต่ถ้าใช้ระบบสายพานไทม์มิ่งซึ่งมีส่วนผสมของยาง อายุการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้เฉลี่ย 100,000 กิโลเมตร แต่นั่นเป็นมาตรฐานในต่างประเทศที่อากาศไม่ร้อนจัด การจราจรไม่ติดขัดมากการ ใช้งานในเมืองไทย ถ้าใช้ในกรุงเทพฯ การจราจรติดขัด เครื่องยนต์หมุนตลอดเวลา แต่ระยะทางไม่ค่อยขึ้น ควรเปลี่ยนที่ 50,000-60,000 กิโลเมตร ต่างจังหวัดจราจรไม่ติดขัด ควรเปลี่ยนที่ 60,000-80,000 กิโลเมตรเพราะถ้าสายพานไทม์มิ่งขาด จะเกิดความเสียหายมาก เช่น วาล์วคด ลูกสูบร้าว ฯลฯ
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก: BMW Thailand , https://www.Shutterstock.com , https://pixabay.com
เขียนโดย RPT LTD ., PART
ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งพิทักษ์กลการ
จำหน่าย อะไหล่รถยนต์ แท้ ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ แบตเตอรี่ สายพาน น้ำมันเครื่อง ผ้าเบรค ลูกปืน หม้อน้ำ กรองเครื่อง ฯลฯ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 02-384-1560 , 02-757-8212
Line ID : jead1967
https://www.facebook.com/Rungpitakkonlakarn
https://www.rptcarparts.com/